WELCOME            ยินดีตอนรับ สู่เว็บลงความเห็นทุกคน
 
 
Digg del.icio.us Shadows  Internetmedia 
1.
แบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น (15 ข้อ)
2.
แบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบรูณ์(54 ข้อ)
3.
แบบวัดความซึมเศร้า CES-D
4.
Michigan Alcoholism Screening Test(MAST)
5.
Health Opinion Survey
6.
SPST..2 เดือนที่ผ่านมารู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้
7.
แบบประเมินวิเคราะห์ความเครียด
8.
แบบประเิมินภาวะสุขภาพจิตของหญิงมีครรภ์
9.
แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1
10.
แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 2
11.
แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 3
12.
แบบคัดกรองความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (ใหม่)
13.
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า(ใหม่)
14.
แบบทดสอบ Webhabolic
15.
ความรักของคุณเป็นอย่างไร
16.
อารมณ์ของคุณเป็นอย่างไร
17.
คุณเป็นเพื่อนที่ดีได้แค่ไหน
18.
คุณพร้อมจะแต่งงานหรือยัง
19.
คนรักกับเพื่อนใครสำคัญกว่า
20.
บุคลิกภาพของคุณ
21. แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (Thai GHQ-12)
22. แบบคัดกรอง PTSD(หลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติ/ร้ายแรงที่ผ่านมา)
24. แบบทดสอบการติดสารนิโคติน
25. เครียด...จากการเมือง
 

ก่อนอืนเข้ามา สมัคสมาชิคกับทางเราก่อนนะคับ

ผู้ให้นิยามจิตวิทยา

สมองคือส่วยที่ไว้คิดเเบบเชิงสร้างสรรค์

แนวคิดอริสโตเติล: เรื่องราวสะเทือนอารมณ์ (Tragedy)

ในการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะของการเล่าเรื่องจากหนังสือ Poetics ของอริสโตเติล ความรู้สึกสงสารและความรู้สึกหวาดกลัว ถูกระบุไว้ว่าผลมาจากการกระตุ้นเร้าขึ้นโดยเรื่องราวสะเทือนอารมณ์(tragedy) เหตุใดเรื่องราวร้ายแรงที่กระตุ้นความรู้สึกสงสารหรือหวาดกลัวจึงทำให้ผู้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้นเพลิดเพลินได้. Aristotle เห็นว่า การรู้ถึงอารมณ์ของความโศกเศร้าสงสารและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นของเรื่องราวนั้น เป็นรูปแบบพิเศษที่ทรงพลังของเรื่องราว ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับการศึกษา

ในกรณีของเรื่องราวที่กระตุ้นเร้าความโศกเศร้าสงสาร เป็นรูปแบบที่รู้จักกันโดยทั่วไปที่เรียกว่า "เรื่องเศร้าเรียกน้ำตา"(tearjerker) ซึ่งมักเป็นเรื่องราวการดิ้นรนต่อโชคชะตาที่โหดร้ายของตัวละครหลักซึ่งมีลักษณะน่าชื่นชม เป็นคนดี เป็นผู้ทรงเกียรติ โดยผู้ชมมักจะถูกกระตุ้นให้จดจ่อและเกิดอารมณ์ความรู้สึกสะเทือนใจคล้อยตามไปกับเรื่องราวของตัวละครหลักนั้นๆ และเรื่องราวอาจจะจบลงอย่างมีความสุขหรืออาจจบลงอย่างน่าหดหู่ สิ้นหวัง อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ ความตึงเครียดจะถูกสร้างขึ้นโดยตลอดเรื่องราว และถูกปลดปล่อยผ่านประสบการณ์ในการรับรู้รับชม และเมื่อผู้ชมได้ละไปจากเรื่องราวเหล่านั้นแล้ว อารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมก็จะกลับเป็นปกติ และระลึกถึงเรื่องราวเหล่านั้นในฐานะที่เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกสร้างหรือแต่งขึ้น

ความรู้สึกพึงพอใจต่ออารมณ์ความรู้สึกที่กระตุ้นเร้ารุนแรง ณ โรงละครหรือโรงภาพยนตร์ จัดเป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัยพร้อมจะปล่อยใจไปกับมันได้ ผู้ชมอาจจะเกิดความรู้สึกดีในความรู้สึกเศร้าไปกับความทุกข์ของผู้อื่น. Dostoyevski (*) นักประพันธ์ชาวรัสเซียชี้ว่า ผู้ที่นิยมโศกเศร้าและร้องไห้ในโรงละครนั้น พวกเขาเพียงแค่ฝันกลางวันถึงการปลดเปลื้องความทุกข์ระทมของมนุษยชาติ หากแต่ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้ความปรารถนาที่คลุมเครือนี้บังเกิดผลขึ้นมา ซึ่งจุดนี้ได้แสดงให้เห็นว่า เรื่องเศร้าเรียกน้ำตานั้นเป็นรูปแบบของเรื่องราวที่หลอกลวงไม่จริงใจหรือตรงไปตรงมา ซึ่งไม่เพียงเป็นการเบี่ยงเบนที่ปลอดภัยเท่านั้น แต่มันยังให้การสนับสนุนการโกหกหลอกลวงต่อผู้คนเหล่านั้นด้วย

[แก้] บทนำ

จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาค้นคว้าเพื่อนำข้อมูลความรู้มาเสนอ อธิบาย และเพื่อควบคุมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ จิตวิทยามุ่งศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการของร่างกายกับจิตใจ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระเบียบแบบแผน เพราะร่างกายและจิตใจมักมีการแสดงออกร่วมกัน อีกทั้งยังแสดงออกในแนวทางที่สามารถทำนายได้

[แก้] ภาษาทางจิตวิทยา

จิตวิทยาก็มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการศึกษาเช่นเดียวกับศาสตร์อื่น ๆ คำศัพท์บางส่วนประกอบด้วยคำศัพท์ที่คนทั่วไปใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คำศัพท์บางคำก็เป็นคำศัพท์ทางวิชาการที่คุ้นเคย ถึงแม้ศัพท์บางคำจะเป็นที่เข้าใจ และคุ้นเคยของคนทั่วไป แต่นักจิตวิทยาก็ได้ให้ความหมายเฉพาะเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในการศึกษาจิตวิทยา

[แก้] ปัญหาและการเลือกปัญหาของนักจิตวิทยา

เหมือนกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป กระบวนการทางจิตวิทยา เริ่มจากการเลือกปัญหาที่สนใจ แล้วจึง สังเกต ศึกษา หรือทดลอง อย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา แล้วทำการรวบรวม เรียบเรียง และตีความข้อเท็จจริงที่ได้ หากนักจิตวิทยาพบแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือตอบคำถามที่กำหนด และสามารถนำมาสัมพันธ์ เกี่ยวข้องเป็นคำตอบของคำถามกว้าง ๆ ได้ นักจิตวิทยาก็จะสนใจ และลงมือศึกษาทันที แต่บางครั้งปัญหาก็เกิดขึ้นจากการสังเกตสิ่งรอบ ๆ ตัว

นักจิตวิทยาได้แบ่งความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาทางจิตวิทยาออกเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ กลุ่มแรกเห็นว่า การเลือกปัญหานั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าของนักจิตวิทยา กลุ่มที่สองนั้นกลับเห็นว่า การเลือกปัญหาและการตั้งคำถามควรจะเป็นไปตามทฤษฎี และกลุ่มหลังเห็นว่าความอยากรู้อยากเห็นที่เกิดขึ้นเอง เป็นแรงจูงใจที่ดีที่สุดสำหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรามองโดยรวมแล้ว จะเห็นว่าทั้งความอยากรู้อยากเห็นและทฤษฎี ต่างก็มีส่วนช่วยในการสังเกต อธิบาย และตีความข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพราะทฤษฎีนั้นมีบทบาทที่ช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่สังเกต และชี้ให้เห็นคำถามใหม่ ๆ อีกทั้งยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ของข้อมูลต่าง ๆ ดังนั้นทฤษฎีจึงมีประโยชน์และมีบทบาทเป็นที่ยอมรับทั่วไป

[แก้] วิธีการทางวิทยาศาสตร์

เหมือนกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป วิธีการทางจิตวิทยาประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ ขั้นการสังเกตองค์ประกอบหรือตัวแปรที่สำคัญ ๆ อย่างมีระบบ และขั้นการรวบรวมและตีความข้อมูลที่ได้มา ซึ่งการดำเนินการสังเกตอย่างมีระบบ คือ ความพยายามที่จะกำจัดอิทธิพลของอคติหรือความลำเอียงของผู้สังเกต และสามารถรับรองได้ว่า การสังเกตนั้นสามารถกระทำซ้ำได้

วิธีการสังเกตอย่างมีระบบนั้น มี 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดลอง (experimental method) โดยสร้างสถานการณ์ ขึ้นเพื่อสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา และวิธีการหาความสัมพันธ์ (correlation method) โดยการสังเกตเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

[แก้] วิธีการทดลอง

ผู้สังเกตจะถูกเรียกว่าผู้ทดลองที่จะสร้างสภาวะหรือตัวแปรขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือผลกระทบต่อ ตัวแปรอื่น ๆ อาจเป็นการเปรียบเทียบตัวแปรระหว่างกลุ่มทดลอง 2 กลุ่มหรือมากกว่านั้น แล้วรายงานผลการทดลอง หรือผลจากการรวบรวมและตีความหมายของการเปรียบเทียบที่ได้จากการทดลอง วิธีการนี้นิยมกระทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ เพราะสามารถควบคุมตัวแปรหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ หรือให้เหลือน้อยที่สุด อีกทั้งการสังเกตก็ สามารถกระทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำ

ตัวแปรที่ใช้ในการทดลองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่ถูกกำหนดขึ้น และ ตัวแปรตาม ซึ่งหมายถึงตัวแปรที่คาดว่าจะเป็นผลจากการกระทำกับตัวแปรอิสระ

หลังจากได้ทราบผลจากการทดลองแล้ว ผู้ทดลองต้องทำการสรุปแล้วรายงานผลการทดลองให้ผู้อื่นทราบ เพื่อให้ผู้อื่นสามารถนำผลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือทำการศึกษาต่อยอดความรู้ออกไป

[แก้] วิธีการหาความสัมพันธ์

วิธีการหาความสัมพันธ์ เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไป โดยที่ไม่ได้เจาะจงว่าตัวแปรใดมีอิทธิพลเหนือตัวแปรใด ค่าความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (coefficient correlation) ซึ่งจะมีค่าระหว่าง -1.00 ถึง 1.00

วิธีการหาความสัมพันธ์ มีดังต่อไปนี้

  1. วิธีวัดทางจิตวิทยา (Psychometric techniques) ใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาและแบบสอบถาม เพื่อวัด ความแตกต่างของลักษณะต่างๆของบุคคล หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยทั่วไปแบบทดสอบที่ใช้ใน งานวิจัยด้านหาความสัมพันธ์สามารถทดสอบตัวแปรอิสระได้เป็นรายๆไป ดังนั้น วิธีวัดทางจิตวิทยานี้จึงแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว ด้วยผลที่ได้จากการทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถามนั่นเอง
  2. การสังเกตในสภาพธรรมชาติ (Naturalistic Observation) การสังเกตในสภาพธรรมชาติจะให้ข้อ เท็จจริงได้มากกว่า เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต ผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัวว่าถูกสังเกต เพื่อให้พฤติกรรม ต่างๆเป็นไปตามธรรมชาติโดยแท้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการสังเกตระยะหนึ่ง ซึ่งบางครั้งอาจค่อนข้างยาวนาน
  3. การสังเกตด้วยวิธีการทางคลีนิค (Clinical Method of Observation) เป็นการศึกษาประวัติรายบุคคล (กรณีศึกษา) ซึ่งจะช่วยให้นักจิตวิทยาเข้าใจประวัติความเป็นมา พื้นฐานการอบรมเลี้ยงดู รวมไปถึงพื้นฐานของการ เกิดพฤติกรรม เพื่อใช้ประกอบการบำบัดรักษาหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

วิธีการสังเกตดังกล่าวอาจเกิดผิดพลาดด้วยเหตุปัจจัยต่าง ๆ ผู้ศึกษาจึงต้องมีการวางแผนและได้รับการฝึกฝนอย่างดี โดยเฉพาะการสังเกตวิธีทางคลีนิค ที่ไม่สามารถกระทำซ้ำได้

ทั้งวิธีการทดลองและวิธีการหาความสัมพันธ์ต่างก็มีประโยชน์และความเหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี แต่หลายๆ ครั้งที่มีการผสมผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการศึกษาที่ละเอียดหลายๆด้าน และเป็นประโยชน์ในทางจิตวิทยามากยิ่งขึ้น

[แก้] โครงสร้างของจิตวิทยา

จิตวิทยาประกอบด้วยโครงสร้าง 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

  1. ลักษณะเนื้อหาวิชา แบ่งเป็นเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ พัฒนาการของมนุษย์, พันธุกรรม, ระบบการตอบสนอง, การรับรู้, การรู้สึก, แรงจูงใจ, อารมณ์, ภาษา การคิด และการแก้ปัญหา, เชาวน์ปัญญาและการทดสอบเชาวน์ปัญญา, บุคลิกภาพแบบต่าง ๆ และการประเมินบุคลิกภาพ, รูปแบบต่างๆของพยาธิสภาพทางพฤติกรรม, จิตบำบัด, และจิตวิทยาชุมชน
  2. เป้าหมายของจิตวิทยา เป้าหมายของการศึกษาได้มาจากวิธีการที่แตกต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่

การวิจัยบริสุทธิ์หรือการวิจัยพื้นฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจรัก ค้นหาหลักการของพฤติกรรมทั้งของมนุษย์และสัตว์ โดย ไม่ได้คำนึงว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสังคมได้หรือไม่ ผู้วิจัยต้องเป็นผู้มีระเบียบแบบแผน มีจรรยาบรรณของนักวิจัย มีจริยธรรมและความเป็นกลางทางสังคม

  1. การวิจัยประยุกต์ ให้ความสนใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ผลจากการวิจัยในปัญหานี้สามารถ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ การวิจัยดังกล่าวต้องได้รับการวางแผนดำเนินการ ควบคุมวิธีการด้วยความระมัดระวัง การวิจัย บริสุทธิ์ก่อให้เกิดการวิจัยประยุกต์อย่างมีแบบแผน
  2. การประยุกต์ใช้ เป็นการประยุกต์คำตอบที่ได้ ไปใช้ในสถานการณ์จริงๆ ในโลกซึ่งไม่มีการควบคุม สภาวะใดๆ นักจิตวิทยากลุ่มที่มีการประยุกต์ใช้มากที่สุด คือ นักจิตวิทยาคลินิก รองลงมาคือ นักจิตวิทยาการศึกษา

สถานที่ดำเนินงานทางจิตวิทยา

นักจิตวิทยาสาขาต่างๆทำงานในสถานที่แตกต่างกัน บางสาขาทำวิจัยและสอนในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย บาง สาขาทำงานในคลินิกและโรงพยาบาล, ศูนย์บริการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆในโรงเรียน, บริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรม, ศูนย์สุขภาพจิต ศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ศูนย์พักฟื้นคนไข้ที่เพิ่งถูกส่งออกจากโรงพยาบาล ศูนย์บริการประชาชน เป็นต้น

[แก้] ความสัมพันธ์ของจิตวิทยากับศาสตร์อื่น

จิตวิทยามีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับศาสตร์ทางชีววิทยา ซึ่งได้แก่ สรีรวิทยา ประสาทวิทยาและชีวเคมี พฤติกรรม ของบุคคลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาจากบุคคลนั้นโดยตรงก่อน ทั้งทางด้านพันธุกรรม ระดับวุฒิภาวะ และสภาพการ เคลื่อนไหวของร่างกาย และปัจจุบันก็สัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดยมานุษยวิทยาศึกษาจุดกำเนิด ของมนุษย์ และการสืบทอดวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคม ส่วนด้านสังคมวิทยาจะเน้น ศึกษากลุ่มสังคมมากกว่าตัวบุคคล โดยศึกษาการปะทะสังสรรค์ของแต่ละบุคคลในกลุ่ม และศึกษาอิทธิพลของกลุ่มที่มีต่อ แต่ละบุคคล


[แก้] จิตวิเคราะห์

นักจิตวิทยา ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้พัฒนาวิธีการบำบัดทางจิตเรียกว่าจิตวิเคราะห์ การศึกษาของฟรอยด์เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต และแปลความหมายพฤติกรรมของคนไข้ของเขา การศึกษาของเขาส่วนมากเป็นการทำความเข้าใจจิตไร้สำนึก การเจ็บป่วยทางจิต และจิตพยาธิวิทยา ทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีทางจิตวิทยาที่นำมาใช้อธิบายพัฒนาการทางพฤติกรรมของมนุษย์ และได้กลายเป็นทฤษฎีที่รู้จักและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเรื่องที่เขาศึกษานั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ การเก็บกดอารมณ์ทางเพศ และจิตไร้สำนึก ซึ่งในช่วงเวลานั้นเรื่องเหล่านี้ถือเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคม แต่ฟรอยด์ก็สามารถทำให้การศึกษาของเขาเป็นปรเด็นสำหรับการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสุภาพได้



Advertising Zone    Close

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...